ทำความเข้าใจ 9 ข้อ ภาษีขายของออนไลน์ 2024 ง่ายนิดเดียว

อย่างที่ทราบกันดีว่าในยุคปัจจุบันอาชีพขายของออนไลน์สามารถสร้างรายได้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าได้เป็นจำนวนมาก บางรายอาจประกอบเป็นอาชีพเสริม และบางรายก็เลือกที่จะประกอบเป็นอาชีพหลักเพื่อรายได้ที่ยั่งยืน แน่นอนว่าเมื่อมีเรื่องของรายได้เข้ามา ก็ต้องมีเรื่องของภาษีขายของออนไลน์ตามมาเช่นกัน ใครหลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “ภาษี” แต่ยังไม่ทราบว่าภาษีคืออะไร และมีผลต่อการดำรงชีพของเราอย่างไรบ้าง
บทความ 9 ข้อ ภาษีขายของออนไลน์ 2024 จะพาพี่ ๆ ผู้ขายทุกคนไปค้นหาคำตอบกัน

 

ทำความเข้าใจ 9 ข้อ ภาษีขายของออนไลน์ 2023 ง่ายนิดเดียว Happy Selling Blog เทคนิคขายของออนไลน์ เทรนด์การตลาด เรื่องราวความสำเร็จ เทคนิคขายดี การตลาด ขายของในลาซาด้า ผู้ขายลาซาด้า อัปเดต บทความ สินค้าออนไลน์ต่อเดือน


ข้อ
1 ภาษีคืออะไร ?

ภาษี คือ เงินหรือทรัพย์สินที่เรียกเก็บจากประชาชนโดยองค์กรรัฐบาล เพื่อนำไปเป็นทุนในการใช้จ่ายของรัฐบาลและรายจ่ายสาธารณะต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน การให้บริการด้านสาธารณสุข การศึกษา ความปลอดภัยและความมั่นคงของประชาชน รวมถึงระบบคุ้มครองทางสังคม (การเกษียณอายุ สวัสดิการ การว่างงาน และความทุพพลภาพ) ซึ่งเป็นหน้าที่ของพลเมืองทุกคนที่จะต้องเสียภาษีอากรในประเทศไทย และมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่หลีกเลี่ยงภาษี

 

ข้อ 2 ผู้ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีแบบไหน?

ถ้าหากผู้ขายไม่ได้มีการเปิดร้านหรือจดทะเบียนร้านค้าในรูปแบบบริษัท จะถือเป็นการเสียภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา ซึ่งถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) คือเงินได้จากการค้าขาย จะมีการยื่นภาษี 2 ช่วงดังต่อไปนี้

1.ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) 

ช่วงวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของทุกปี เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา (เช่น รายได้ในปี 2565 ต้องยื่นภายใน มี.ค. 2566)

2.ยื่นภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94)

ช่วงวันที่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. ของทุกปี เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยที่ค่าลดหย่อนบางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวจะลดลงจาก 30,000 บาท เหลือ 15,000 บาท

 

ข้อ 3 การเสียภาษีมีกี่รูปแบบ?

การเสียภาษีมีทั้งหมด 2 แบบ

1.เสียภาษีรายได้แบบบุคคลธรรมดา


2.เสียภาษีแบบนิติบุคคล (กรณีนี้สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท)

หมายเหตุ : กรณีที่ร้านค้ามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท (VAT ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่ 7%*)

 

ข้อ 4 ค่าใช้จ่ายที่นำมาคิดภาษีมีอะไรบ้าง?

1.หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% 

สำหรับร้านค้าที่ซื้อของมาขาย ไม่ได้ผลิตเอง

2.หักค่าใช้จ่ายตามจริง

สำหรับร้านค้าที่ผลิตสินค้าเอง ซึ่งกรณีนี้จะต้องมีการเอกสารที่ใช้ยื่นจำนวนมาก

3.หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา

หากผู้ขายมีรายได้จากการขายของออนไลน์มากกว่า 1,000,000 บาท จะคิดภาษี 0.5% 

 

ข้อ 5 การลดหย่อนและตารางอัตราภาษีคืออะไร?

การลดหย่อนภาษี คือรายการค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่สรรพากรประกาศให้นำมาหักลบกับรายได้ เพื่อให้ผู้ขายคำนวณรายได้สุทธิออกมาและนำไปเปรียบเทียบคิดภาษีกับตารางอัตราภาษีแบบขั้นบันได

– รายได้ คือ รายได้ที่ได้รับมาในปีนั้นทั้งหมด

– รายได้สุทธิ คือ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ

– ค่าลดหย่อน คือ ค่าใช้จ่ายที่สรรพากรประกาศให้นำมาหักลบกับรายได้

– อัตราภาษี คือ อัตราภาษีที่รัฐบาลประกาศ

 

ข้อ 6 สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

อัตราภาษีเงินได้ แบบขั้นบันได

เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท (อัตราภาษี 0% หรือได้รับการยกเว้นภาษี)

ภาษี = 0

เงินได้สุทธิ 150,000 – 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%)

ภาษี = (เงินได้สุทธิ – 150,000) x 5%

เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%)

ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x 10% ] + 7,500

เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%)

ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x 15% ] + 27,500

เงินได้สุทธิ 750,001 – 1 ล้านบาท (อัตราภาษี 20%)

ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x 20% ] + 65,000

เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท (อัตราภาษี 25%)

ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x 25% ] + 115,000

เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท (อัตราภาษี 30%)

ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x 30% ] + 365,000

เงินได้สุทธิมากกว่า 5 ล้านบาท (อัตราภาษี 35%)

ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x 35% ] + 1,265,000

 

ข้อ 7 สรุปภาษีขายของออนไลน์ 2024 คือ เราจะเสียภาษีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ “ค่าใช้จ่าย” และ “ค่าลดหย่อน”

 

ข้อ 8 ตัวช่วยลดหย่อนภาษี 

ในแต่ละปีอัตราการลดหย่อนจะมีปรับเปลี่ยนไม่เท่ากัน ตารางด้านล่างเป็นตัวอย่างที่สามารถอ้างอิงได้เพื่อยื่นภาษีในปี 2566

 

ข้อ 9 แนะนำโปรแกรมคำนวณภาษีออนไลน์ (ใช้งานฟรี!)

  1. iTax
  2. โปรแกรมคำนวณภาษีบนเว็บไซต์ของธนาคารต่าง ๆ เช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรี

ทำความเข้าใจ 9 ข้อ ภาษีขายของออนไลน์ 2024 ง่ายนิดเดียว

หลังจากนี้พี่ ๆ ผู้ขายทุกคนคงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องภาษีและภาษีขายของออนไลน์มากขึ้น แนะนำให้อัปเดตข้อมูลอยู่เสมอเพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขอยู่เรื่อย ๆ มาเปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายเพราะภาษีขายของออนไลน์จะอยู่คู่กับอาชีพค้าขายออนไลน์ของเราไปตลอด ส่วนใครที่อยากเริ่มต้นขายของออนไลน์ ทำได้ไม่ยาก ใช้เวลาเปิดร้านเพียง 1 นาที จิ้มเลย http://bit.ly/3HSuJvq 

 #ขายของออนไลน์อะไรดี #เทคนิคขายเสื้อผ้าออนไลน์ #ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นขายของออนไลน์ 

#เทคนิคตั้งชื่อร้านขายของออนไลน์ #วิธีขายดีในLazada Seller Center #HappySellingBlog

Happy Selling Blog เทคนิคขายของออนไลน์ เทรนด์การตลาด เรื่องราวความสำเร็จ เทคนิคขายดี การตลาด ขายของในลาซาด้า ผู้ขายลาซาด้า อัปเดต บทความ สินค้าออนไลน์ต่อเดือน

สมัครขายในลาซาด้าวันนี้รับเลยสิทธิประโยชน์ 8 ต่อสำหรับผู้ขายใหม่ 

  • ฟรี! ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน 0% นาน 30 วัน
  • ฟรี! ค่าธรรมเนียมการใช้บริการมาร์เก็ตเพลส 0% นาน 30 วัน
  • ฟรี! โปรแกรมส่งฟรีพิเศษ 0% นาน 30 วัน
  • ฟรี! โปรแกรมเงินคืนทุกวัน 0% นาน 30 วัน
  • ฟรี! คูปองกระตุ้นยอดขาย
  • ฟรี! แคมเปญลาซาด้าช่วยไทย
  • ฟรี! ทีมงานดูแลร้านค้าส่วนตัวสูงสุด 90 วัน
  • ฟรี! คอร์สเทคนิคการขายที่ Lazada University

*เงื่อนไขเป็นไปตามบริษัทฯ กำหนด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.Lazada.co.th

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *